top of page
chanapai186

ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้า

ข้อเท็จจริง

  1. บริษัท A. ส่งออกผ้า(วัตถุดิบ) ไปยังบริษัทในประเทศจีนเพื่อผลิตเป็นเสื้อสำเร็จรูป(สินค้า) โดยผ่านพิธีการศุลกากร

  2. จากนั้นบริษัท A. ได้ให้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจีน ส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศที่ 3 โดยโดยระบุผู้ส่งออกในใบตราส่งสินค้า (Bill of lading) เป็นชื่อของบริษัทฯ

  3. ผ้า(วัตถุดิบ) ที่ส่งออกนั้น บริษัท A. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ไว้เป็นยอดขายที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

  4. เสื้อสำเร็จรูป(สินค้า) ที่ส่งออกจากประเทศจีน บริษัท A. ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เนื่องจากเป็นการขายนอกราชอาณาจักรที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Out of VAT Scope)

  5. การส่งออกวัตถุดิบ และการขายสินค้าโดยให้บริษัทผู้ผลิตเป็นผู้ส่งมอบให้ บริษัท A. ได้รับรู้รายได้เป็นรายได้จากการขายสินค้าและนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิ

ข้อหารือ

  1. กรณีบริษัท A. ส่งออกวัตถุดิบซึ่งได้ผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อให้บริษัทในประเทศจีนผลิตเป็นสินค้า ถือว่าบริษัทฯ เป็นผู้ส่งออกได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่

  2. และภาษีซื้อจากการซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งภาษีซื้อจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการส่งออกวัตถุดิบนั้น บริษัท A. มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้ใช่หรือไม่

แนววินิจฉัย

  1. บริษัท A. เป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบที่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 (ส่งออกผ่านพิธีการศุลกากร และมีชื่อบริษัท A. เป็นผู้ส่งออกใน Bill of lading)

  2. ภาษีซื้อที่บริษัท A. ถูกเรียกเก็บจากการซื้อวัตถุดิบ และจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการส่งออก สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ (เป็นภาษีซื้อเนื่องจากการประกอบกิจการส่งออกวัตถุดิบ)

Comments


bottom of page